แม้จะผ่านมาแล้วกว่าหนึ่งเดือนครึ่ง หลังจากคณะทหารอารักขาประธานาธิบดีของไนเจอร์ ประกาศยึดอำนาจการปกครองและเข้าปกครองประเทศ ผลจากการรัฐประหารในวันนั้น นำมาซึ่งความไม่มั่นคงและปัญหาระหว่างไนเจอร์กับชาติอื่นๆ ในแอฟริกาตะวันตก ขณะเดียวกันก็นำมาสู่การประท้วงต่อต้านและขับไล่ทหารฝรั่งเศสที่เข้ามาปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคงในประเทศด้วยเช่นกัน
โดยปรากฎภาพของประชาชนบริเวณหน้าฐานทัพฝรั่งเศสในกรุงนีอาเม เมืองหลวงของประเทศไนเจอร์ ที่ออกมารวมตัวกันเพื่อประท้วงขับไล่ทหารของฝรั่งเศสต่อเนื่องเป็นวันที่ 3
ผู้นำเผด็จการไนเจอร์ ขีดเส้นตายทูตฝรั่งเศสออกนอกประเทศใน 48 ชม
ชาติแอฟริกาตะวันตกกำหนด “วันดีเดย์” ใช้กำลังนำประชาธิปไตยคืนสู่ไนเจอร์
รัฐบาลทหารไนเจอร์จ่อดำเนินคดีอดีตประธานาธิบดี ข้อหา “กบฏต่อแผ่นดิน”
ซึ่งมีข้อเรียกร้องหลักของประชาชนไนเจอร์ที่มาชุมนุมคือ ต้องการให้ทหารฝรั่งเศสที่ประจำการอยู่ถอนตัวออกจากประเทศ โดยชาวไนเจอร์ที่เตรียมออกไปประท้วง ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า เธอจะออกไปประท้วงขับไล่ทหารฝรั่งเศสเพราะต้องการกอบกู้อนาคตของลูกหลานและไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ฝรั่งเศสกำลังทำอยู่เป็นการพัฒนาประเทศ
การประท้วงขับไล่ทหารฝรั่งเศสครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พันเอกอมาดู อับดรามาเน โฆษกประจำ“สภาแห่งชาติเพื่อปกป้องมาตุภูมิ” หรือคณะรัฐประหารของไนเจอร์ ได้ออกมาแถลงโต้ตอบรัฐบาลฝรั่งเศสคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ย้อนกลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ออกมาสนับสนุนจุดยืนของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตก หรือ ECOWAS ซึ่งจุดยืนดังกล่าวรวมถึงการใช้วิธีทางการทูตและการใช้กำลังทางการทหารกับกลุ่มรัฐประหาร
การแสดงความเห็นดังกล่าวของประธานาธิบดีมาครง ทำให้พันเอกอับดรามาเนระบุว่ารัฐบาลทหารผิดหวังกับคำพูดดังกล่าวของผู้นำฝรั่งเศสอย่างมาก และคำพูดดังกล่าวถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไนเจอร์
อย่างไรก็ดี แม้จะมีการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากผู้นำฝรั่งเศส แต่จนถึงตอนนี้กลุ่ม ECOWAS ยังไม่ได้ปฏิบัติการใดๆ กับคณะรัฐประหารเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไนเจอร์
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่ม ECOWAS เกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากบรรดาผู้นำของกลุ่ม ECOWAS ได้เดินทางไปยังประเทศสเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมและขอการสนับสนุนจากชาติยุโรป
ผลจากการประชุมไม่มีมาตรการใดที่เป็นรูปธรรมออกมาโจเซพ บอร์เรลล์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป ระบุว่า ยุโรปต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับฟัง เนื่องจากปัญหาของแอฟริกาต้องแก้โดยชาวแอฟริกา แต่ยุโรปก็พร้อมพิจารณาและศึกษาข้อเสนอใด ๆ ที่มาจากกลุ่ม ECOWAS
การพยายามแทรกแซงและข่มขู่ว่าจะลงโทษคณะรัฐประหาร กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุประชาชนออกมารวมตัวกันประท้วง เพื่อขับไล่ทหารฝรั่งเศสที่ทำภารกิจด้านความมั่นคงอยู่ในประเทศไนเจอร์ จนลากยาวเข้าสู่วันที่ 3 คำถามสำคัญ คือ ฝรั่งเศสประจำการทหารไว้มากน้อยเพียงใดและประจำการทหารของตนเองไว้ในประเทศไนเจอร์ด้วยเหตุผลใด
ปัจจุบันฝรั่งเศสได้ประจำการทหารของตนเองไว้ในประเทศไนเจอร์ราวๆ 1,500 นาย โดยทหารเหล่านี้เป็นทหารที่คอยทำหน้าที่ต่อต้านและปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายจีฮัดในประเทศแอฟริกาในส่วนที่เรียกว่า “ภูมิภาคซาเฮล (Sahel)”
ภูมิภาคซาเฮลตั้งอยู่ที่ในทวีปแอฟริกาเหนือ ใต้ทะเลทรายซาฮารา คิดเป็นระยะทางกว่า 5,900 กิโลเมตรในพื้นที่ 5 ประเทศ คือ มอริเตเนีย มาลี บูร์กินาฟาโซ ไนเจอร์ และชาด
ประกาศฉบับที่ 16 รับมือ “ฝนตกหนัก” จนถึง 6 ก.ย.
ลิงก์ดูสดวอลเลย์บอลหญิง ! ไทย พบ เวียดนาม ชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 วันที่ 4 ก.ย. 66
บีวายดี ประกาศเลิกติดชื่อแบรนด์ Build Your Dreams ที่ฝากระโปรงท้าย
จุดเริ่มต้นของการประจำการทหารฝรั่งเศสในไนเจอร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 2014 รัฐบาลฝรั่งเศสในเวลานั้นได้ส่งทหารระดับสูงกว่า 3,000 นายไปยังภูมิภาคซาเฮลเพื่อทำปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายจีฮัดในภูมิภาค หรือที่เรียกว่า “ปฏิบัติการบาร์คาเน” (Operation Barkhane) ฐานทัพของปฏิบัติการนี้ตั้งอยู่ในกรุงเอนจาเมนา สาธารณรัฐชาด โดยมีสมาชิกประเทศกลุ่มภูมิภาคซาเฮลอีก 4 ประเทศ เช่น มอริเตเนีย มาลี บูร์กินาฟาโซ ไนเจอร์ เป็นพันธมิตรและช่วยกันปราบปรามกลุ่มจีฮัดนานถึง 9 ปีเต็ม
ก่อนที่จุดเปลี่ยนสำคัญจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2021 หลังอาซิมี กอยตา รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐมาลีทำรัฐประหาร นี่ทำให้ประธานาธิบดีมาครงของฝรั่งเศสตัดสินใจประกาศถอนทหารหลักพันคนออกจากมาลี เนื่องจากกองทัพฝรั่งเศสไม่สามารถปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การถอนทหารออกจากมาลีเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ก่อนที่ผู้นำฝรั่งเศสจะประกาศจบปฏิบัติการบาร์คาเนในวันที่ 9 พฤศจิกายนปีที่แล้ว ทั้งนี้ แม้ปฏิบัติการดังกล่าวจะจบลง แต่ประธานาธิบดีมาครงระบุว่าทหารฝรั่งเศสที่ถอนตัวออกจากมาลี จะถูกย้ายไปประจำการที่ฐานทัพอากาศในกรุงนีเอเมของไนเจอร์ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อปี 2013 แทน
การเคลื่อนย้ายทหารดังกล่าวทำให้จำนวนทหารฝรั่งเศสในไนเจอร์เพิ่มขึ้นจาก 300 นาย กลายเป็นราวๆ 1,500 นาย
โดยการย้ายฐานประจำการของทหารฝรั่งเศสเป็นไปได้ด้วยดีภายใต้การสนับสนุนของประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูม เนื่องจากตัวเขามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลฝรั่งเศส
ทั้งนี้ การเข้ามาของทหารฝรั่งเศสในประเทศไนเจอร์สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนบางส่วน เนื่องจากชาวไนเจอร์มองว่าการเข้ามาของฝรั่งเศสผ่านปฏิบัติการบาร์คาเนตลอดกว่า 9 ปี ได้กดขี่และทำร้ายประชาชน นอกจากปฏิบัติการบาร์คาเนแล้ว
อีกหนึ่งปัจจัยที่นำมาสู่การต่อต้านและขับไล่ฝรั่งเศสออกจากประเทศคือ โครงการ G-5 Sahel ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาชาติแอฟริกาในภูมิภาคซาเฮล
ชาวไนเจอร์บางส่วนมองว่ามาตรการต่างๆ ที่มากับ G-5 Sahel มีลักษณะไม่ต่างจากการเป็นอาณานิคมใหม่ หรือ “นีโอโคโลเนียล” ที่กดขี่ชาติแอฟริกาให้สยบยอมต่อความยากจนเหมือนยุคอาณานิคม ชาวไนเจอร์ระบุว่า หลังจากนี้พวกเขาต้องการกำหนดทางเดินและการบริหารประเทศในแบบของตนเอง
นอกจากไนเจอร์แล้ว เหตุการณ์รัฐประหารในลักษณะคล้ายกันนี้ยังเกิดขึ้นกับประเทศอดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างกาบอง ซึ่งเป็นประเทศแอฟริกาตะวันตก การรัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นในกาบองเมื่อวันพุธที่แล้ว โดยชนวนเหตุมาจากการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหาว่าไม่โปร่งใส
ส่วนสถานการณ์ล่าสุดในกาบองตอนนี้ เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา พันเอก อุลริช มานฟูมบี มานฟูมบี โฆษกประจำรัฐบาลทหารของกาบองได้ออกมาประกาศเปิดพรมแดนของประเทศอีกครั้ง หลังจากต้องปิดไปเพราะการทำรัฐประหาร
อย่างไรก็ดี โฆษกฯ รัฐบาลทหารย้ำว่า จำเป็นต้องคงมาตรการเคอร์ฟิวทั่วประเทศตั้งแต่ช่วงเวลา 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้าเอา
ไว้ก่อนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง
และในวันเดียวกัน บริซ โอลิกุย เอ็นเกมา หัวหน้าคณะรัฐประหารของกาบองได้ออกมาแถลงว่า กาบองเคารพพันธกรณีที่มีต่อประชาชนและประชาคมระหว่างประเทศ และการล่มสลายของกลไกรัฐบาลจากการรัฐประหารครั้งนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ส่วนเป้าหมายของการรัฐประหารในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยการทุจริต ตลอดจนเป็นการวางมาตรฐานให้ประเทศสามารถมีสิทธิขั้นพื้นฐาน เสรีภาพ และประชาธิปไตยตามมาตรฐานโลกได้
การออกมาแถลงครั้งนี้มีขึ้นหลังจากหัวหน้าคณะรัฐประหารกาบองถูกกดดันจากประชาชนและประชาคมระหว่างประเทศให้คืนอำนาจแก่ประธานาธิบดี อาลี บองโก หลังจากได้ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา