"อเมริกาใต้" เจ้าพ่อค้ายาใหญ่คับเมือง ดินแดนแห่งเสรีภาพยาเสพติด –

ในอเมริกาใต้ประกอบไปด้วย 13 ประเทศ 3 เขตการปกครอง แต่ประเทศที่ถูกพูดถึงมากที่สุด มีความเชื่อมโยงกับแก๊งอาชญากรและยาเสพติด คือ เอกวาดอร์ โคลอมเบีย เปรู และโบลิเวีย

ทำไมประเทศเหล่านี้ถึงปลูกโคเคนขึ้นได้ดี?

การที่ประเทศหนึ่งจะเป็นนัมเบอร์วันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็อาจจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องนั้น เช่น ประเทศนั้นมีที่ตั้ง ทำเลดี อย่างเปรูและโคลอมเบีย มีทำเลที่ตั้งที่ปลูกพืชโคคาได้ดีมากเพราะตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาแอนดีสซึ่งใช่แล้ว โคคานี้แหละที่สามารถสกัดออกมาเป็นยาเสพติดอย่างโคเคนได้

ด้วยความที่ต้นโคคากลายเป็นพืชประจำอเมริกาใต้ไปแล้ว คนท้องถิ่นแถวนั้นก็มีความผูกพันโคคา และมองว่าพืชโคคาเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ด้วย มีการเอาไปใช้ประกอบพิธีกรรมทางวัฒนธรรมก็มี ก็เลยทำให้อุตสาหกรรมการปลูกโคคาถูกรับรองว่าถูกกฎหมาย แถมยังสามารถสร้างเม็ดเงินให้ประเทศได้ อย่างนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวแถบเทือกเขาแอนดีส จะได้ลิ้มรสชาโคคา ตามร้านรวงต่างๆ ที่ขึ้นเรียงราย ส่วนชาวบ้านจะพกใบโคคาไว้เคี้ยวเพราะบางคนบอกว่ามันช่วยเพิ่มความกระชุ่มกระชวย

จากพืชเศรษฐกิจ สู่ผู้ร้ายทำลายประเทศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ที่บอกว่ากระชุ่มกระชวย เพราะในสมัยก่อนตอนนั้น มีการศึกษาทดลองตามยุคสมัยและพบว่าในใบโคคา มันมีนิโคติน แต่พอเข้าห้องทดลองในยุคสมัยที่พัฒนาขึ้นมาแล้วต่อจากนั้น ศึกษาให้ลึกลงไปอีก ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็เจอว่ามันมีสารอีกตัวที่ชื่อ Alkaloid อันนี้ที่แหละที่ต่อมาบังเกิดไปต่อยอดเป็นโคเคน ยาเสพติดที่จัดว่าอันตรายและเป็นภัยต่อชีวิต จากวันนั้นสู่วันนี้ โคคาก็เลยกลายเป็นผู้ร้ายทำลายประเทศแหล่งผลิต เพราะในเวลานั้นเอง แก๊งอาชญากรในประเทศแถบอเมริกาใต้ทั้งหลายได้ก่อกำเนิดขึ้นและเริ่มต้นเดินสายผลิตโคเคนออกจำหน่าย

ทำไมแก๊งอาชญากรถึงฮึกเหิม อยู่ได้ไม่กลัวกฎหมาย?

คำถามต่อมาคือทำไมแก๊งอาชญากรเหล่านั้นถึงดำรงชีพอยู่ได้ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ขายยาเสพติดกันให้พรึ่บพรั่บ ก็คงต้องยกเอาเหตุผลประกอบนั่นก็คือ ประเทศที่ถูกโคเคนทำลายล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในสถานะที่เรียกว่า “Failed State” หรือรัฐล้มเหลว รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ผู้นำคอร์รัปชันหนัก กลุ่มต่อต้านรัฐบาลรวมตัวประท้วงจนเกิดสงครามและความขัดแย้ง และความเหลื่อมล้ำ ยกตัวอย่างเช่น เปรู ประเทศที่เคยร่ำรวยเพราะมีแร่ธาตุส่งออกไปขาย แต่หลังจากได้รับอิสรภาพจากสเปน ช่วงทศวรรษ 1960 ชนชั้นนำไม่กี่กลุ่มเข้ามามีบทบาททางการเมือง และครอบครองผลประโยชน์อย่างที่ดินจากชาวบ้านปากกัดตีนถีบ พอหลังจากนั้นมีรัฐบาลทหารเข้ามาก็ทำการช่วยชาวบ้านปฏิรูปที่ดิน ลดการนำเข้าด้วยการตั้งภาษีแพงๆ ผลปรากฏว่าของนำเข้าที่จำเป็น เช่น น้ำมันแพงขึ้นตาม ชาวบ้านเริ่มเงินฝืดเคือง สุดท้ายเปรูเจอภาวะเงินเฟ้อหนักมาก ปี 1980 รัฐบาลพลเรือนมาแทนที่รัฐบาลทหาร นึกว่าจะดีขึ้น ปรากฏเจอภัยพิบัติธรรมชาติ ซัดพื้นที่เพราะปลูกเกษตรกรไปอีก รัฐบาลทหารเลยเข้าไปควบคุมราคาสินค้า และค่าเงิน จนสุดท้ายเงินทุนสำรองระหว่างประเทศหมดเกลี้ยง สืบเนื่องมาถึงเวลานี้พิษภัยจากผลกระทบโควิด 19 สงครามรัสเซีย ยูเครนซ้ำเข้าไปอีก เปรูก็ยังไม่ฟื้นจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และความไร้ซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง เพราะการเมืองก็แบ่งฝ่าย ทะเลาะกันเอง ฟ้องร้องกันเอง

ส่วนโคลอมเบีย อันนี้หนักมาก จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ซับซ้อน เพราะมีการแบ่งฝ่ายและทำสงครามต่อสู้กันเองมาตลอดระหว่างกลุ่มของรัฐบาลที่เป็นพรรคอนุรักษนิยม กับกลุ่มพรรคการเมืองที่เคยเป็นเสรีนิยม-ประชาธิปไตย แต่ถูกปราบในเหตุการณ์นองเลือด เลยเปลี่ยนแนวคิดเป็นคอมมิวนิสต์ จัดตั้งกองกำลังของตัวเอง ภายใต้ชื่อ ‘กองกำลังปฏิวัติแห่งโคลอมเบีย’ (The Revolutionary Armed Forces of Colombia – FARC) เพื่อทำการโค่นล้มรัฐบาล รวมทั้งยังคุมการค้าขายยาเสพติดรายใหญ่ด้วย

ส่วนเอกวาดอร์ แม้ไม่ใช่ประเทศที่ผลิตและจำหน่ายโคเคนเป็นหลัก แต่ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมือนเป็นไส้ในแซนด์วิช คั่นกลางระหว่างเปรูกับโคลอมเบีย เลยทำให้ตกกระไดพลอยโจน ถูกใช้เป็นทางผ่านลำเลียงยาเสพติด ข้อมูลจาก BBC รายงานว่าปีที่แล้วปีเดียวในเอกวาดอร์ สถิติคดีฆาตกรรมมีถึง 7,878 คดี แก๊งอาชญากรกระจัดกระจายกันกว่า 20 แก๊งในประเทศ และยังแผ่ขยายอิทธิพลไปยังเม็กซิโกและโคลอมเบียด้วย

โดยการทำงานของแก๊งอาชญากรค้ายาเสพติดเหล่านี้จะมีศูนย์บัญชาการกันในเรือนจำ และด้วยความที่มีหลายแก๊งเหลือเกิน ก็มีขัดแข้งขัดขาทะเลาะกันเองก็มี รวมไปถึงการสังหารคนที่กำลังจะมีอำนาจทางการเมืองที่ขัดผลประโยชน์ของพวกเขา อย่างเหตุการณ์เมื่อส.ค. ปี 2023 เฟอร์นันโด วิลลาวิเซนซิโอ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเอกวาดอร์ ถูกสังหารโดยนักฆ่ารับจ้าง ซึ่งคดีนี้ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน แต่มีการวิเคราะห์กันว่ามันเชื่อมโยงกับอัตราการเพิ่มขึ้นของคดีฆาตกรรมในประเทศ

ด้วยความที่โคเคนขายดิบขายดี จึงทำให้แก๊งอาชญากรเหล่านี้มีเงินหมุนเวียนมหาศาล มากพอที่จะซื้อความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่รัฐให้กลายสภาพเป็นคนทุจริตได้ เหตุการณ์นี้เห็นภาพชัดขึ้นเมื่อ อาดอลโฟ มาเซียส (Adolfo Macías) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ฟิโต” ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าแก๊ง “โชเนรอส” แก๊งอาชญากรอันตรายอันดับ 1 ของเอกวาดอร์ที่ถูกศาลตัดสินให้รับโทษจำคุก 34 ปีนับตั้งแต่ปี 2011 ในข้อหาก่ออาชญากรรม ค้ายาเสพติด และฆาตกรรม หลบหนีออกจากเรือนจำ ในตอนที่ ฟิโต กำลังหลบหนี มีเหตุจลาจลร้ายแรงในเรือนจำอย่างน้อย 6 แห่งในเอกวาดอร์

โดยมีรายงานว่าผู้คุมหลายคนถูกนักโทษจับไปเป็นตัวประกัน ส่วนหัวหน้าแก๊งอาชญากรอีกรายคือ ฟาบริซิโอ โคลอน ปีโก (Fabricio Colón Pico) หรือที่รู้จักในชื่อ "เอล ซาเวจ" หัวหน้าแก๊ง ลอส โลบอส ได้ใช้โอกาสนี้หลบหนีออกจากห้องขังด้วยเหมือนกัน และแน่นอนว่าเหตุการณ์แบบนี้สังคมตั้งคำถามและลงความเห็นกันกันต่อมาว่า ใช่เงินหรือไม่ ที่ซื้ออิสรภาพจากเจ้าหน้าที่รัฐบางนายได้ และเมื่อไหร่กันที่แก๊งอาชญากรและปัญหาโคเคนเกลื่อนเมืองนี้จะมีวันจบลงเสียที

You May Also Like

More From Author